วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจ็ก เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง


บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงนั้น จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการปอก
ด้วยคน เช่น เกิดอาการแสบตา ยางกระเทียมและหอมแดงติดมือ กลิ่นฉุนติดเสื้อผ้า และที่สำคัญคือต้องใช้เวลา
ในการปอกนาน หากต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น หากมี
เครื่องจักรมาช่วยในการปอก ก็น่าที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
เครื่องปอกที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ใช้หลักการการเสียดสีของกระเทียมและหอมแดง บนแผ่นปอกที่เจาะ
เป็นรู หมุนด้วยความเร็ว 50 รอบต่อนาที และอาศัยน้ำเป็นตัวนำเศษผิวที่ปอกออกทางด้านล่างของถังในลักษณะ
การหมุนวน
หลังจากสร้างเครื่องปอก ได้สาธิตการทำงานของเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน ประเมินคุณภาพ
ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอก ผลการ
ประเมินพบว่าเครื่องที่สร้างขึ้นนั้นมีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.38) ในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้าง
อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.68)
จากการเปรียบเทียบระหว่างการใช้คนปอกและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
(กระเทียมประมาณ 340 กลีบ หอมแดงประมาณ 260 หัว) จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ได้จำนวนผลผลิตที่ดี
ตามเกณฑ์ ดังนี้
1. การปอกด้วยคน กระเทียมมีค่าเฉลี่ย 86.40กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 25.41) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 83 หัว
(คิดเป็นร้อยละ 31.29)
2. การปอกด้วยเครื่อง กระเทียมมีค่าเฉลี่ย276.20 กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 81.24) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 216
หัว (คิดเป็นร้อยละ 83.08)
เมื่อนำผลจากการทดลองมาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องปอกมีประสิทธิภาพในการปอก
มากกว่าการปอกด้วยคน ไม่ว่าจะเป็นการปอกกระเทียมหรือหอมแดง จึงอาจสรุปได้ว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมี
คุณภาพและมีประสิทธิภาพที่พร้อมจะนำไปใช้งานได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น