วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553


เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
Construction of Garlic and Shallot Peeling Machine

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงนั้น จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการปอกด้วยคน เช่น เกิดอาการแสบตา ยางกระเทียมและหอมแดงติดมือ กลิ่นฉุนติดเสื้อผ้า
และที่สำคัญคือต้องใช้เวลา
ในการปอกนาน หากต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น หากมี
เครื่องจักรมาช่วยในการปอก ก็น่าที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
เครื่องปอกที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ใช้หลักการการเสียดสีของกระเทียมและหอมแดง บนแผ่นปอกที่เจาะ
เป็นรู หมุนด้วยความเร็ว 50 รอบต่อนาที และอาศัยน้ำเป็นตัวนำเศษผิวที่ปอกออกทางด้านล่างของถังในลักษณะ
การหมุนวน
หลังจากสร้างเครื่องปอก ได้สาธิตการทำงานของเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน ประเมินคุณภาพ
ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอก ผลการ
ประเมินพบว่าเครื่องที่สร้างขึ้นนั้นมีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.38) ในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้าง
อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.68)
จากการเปรียบเทียบระหว่างการใช้คนปอกและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
(กระเทียมประมาณ 340 กลีบ หอมแดงประมาณ 260 หัว) จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ได้จำนวนผลผลิตที่ดี
ตามเกณฑ์ ดังนี้
1. การปอกด้วยคน กระเทียมมีค่าเฉลี่ย 86.40กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 25.41) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 83 หัว
(คิดเป็นร้อยละ 31.29)
2. การปอกด้วยเครื่อง กระเทียมมีค่าเฉลี่ย276.20 กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 81.24) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 216
หัว (คิดเป็นร้อยละ 83.08)
เมื่อนำผลจากการทดลองมาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องปอกมีประสิทธิภาพในการปอก
มากกว่าการปอกด้วยคน ไม่ว่าจะเป็นการปอกกระเทียมหรือหอมแดง จึงอาจสรุปได้ว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมี
คุณภาพและมีประสิทธิภาพที่พร้อมจะนำไปใช้งานได้จริง

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสาร ศึกษาข้อมูล หลักการทางทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
ตามกรอบแนวคิด ให้สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎี ประกอบด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้
1. เอกสารทางทฤษฎี
กระเทียมและหอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด เป็นส่วนสำคัญนำไปใช้
ประกอบอาหาร มีการแปรรูปกระเทียมและหอมแดงเป็นผลิตภัณฑ์ เกิดอุตสาหกรรมกระเทียมและหอมแดงผง
หรืออัดเม็ดในปัจจุบัน [1]
การออกแบบเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ตามข้อกำหนดของ จี เอ็ม พี (GMP) นั้น วัสดุที่
ใช้ทำชิ้นส่วนจะต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการบริโภค ซึ่งเครื่องปอกที่สร้างขึ้น จะต้องสร้าง
ขึ้นจากวัสดุที่ไม่เป็นสนิมหรือไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการบริโภค [2]
สิ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพของเครื่องปอกที่สร้างขึ้นทำโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้และ
ประสบการณ์ในการสร้างเครื่องจักรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลในวงการนั้น ส่วนประสิทธิภาพของเครื่อง
ปอกสามารถวัดได้จากผลผลิตที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนด
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มงคล ไชยศรี เจษฎา อุ่นสวิง ณัฎฐนันท์ มูลสระดู่และสุทธิพงษ์ โสภา[3] ได้ออกแบบและสร้างเครื่อง
ปอกกระเทียม ซึ่งลักษณะการทำงาน ใช้แผ่นยางสังเคราะห์ชนิดไม่เรียบเป็นตัวทำหน้าที่ขัดเปลือกกระเทียมให้
ร่อนออกจากเนื้อกระเทียมพบว่าประสิทธิภาพของเครื่องปอกมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 56 โดยใช้กระเทียม
จำนวน 0.5 กก.
706
อภิชาติ จิรัฐติยางกูร [4] ได้ออกแบบและสร้างเครื่องปอกกระเทียมจีน โดยการทำงานใช้หลักการหมุน
ของเพลายางสังเคราะห์บดเสียดสีให้เปลือกระเทียมหลุดออก เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปอกกระเทียมมากขึ้น
สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์และศานิต ปันเขื่อนขัติย์ [5] ได้ออกแบบและสร้างเครื่องปอกเปลือกกระเทียม
(Garlic Press Peeler) การทำงานของเครื่องอาศัยหลักการเสียดสีและความยืดหยุ่นของแผ่นยางซิลิโคน ทำให้
เปลือกกระเทียมที่ถูกขัดสีระหว่างแผ่นยางซิลิโคนทั้งบนและล่างนั้นล่อนหลุดออกได้ง่ายโดยกระเทียมไม่ช้ำ
อุป
กรณ์และวิธีการ
การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงในการวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งกระเทียมและหอมแดงที่ไร้เปลือก โดยการศึกษา
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำงานของเครื่องปอกที่มีผู้ศึกษามาแล้ว เพื่อทราบแนวทางการ
สร้าง ความเหมาะสมและข้อจำกัดต่าง ๆ นำมาสังเคราะห์เพื่อสร้างเครื่องปอกที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพขึ้น
2. การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ทำจากสแตนเลส ถูกต้องตาม
หลักเกณฑ์ของการสร้างเครื่องจักรที่สัมผัสอาหารตามข้อกำหนดของ จี เอ็ม พี (GMP) ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ ๆของเครื่องปอกดังนี้
2.1 ถังปอก ขึ้นรูปจากโลหะแผ่นเป็นถังทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร สูง40
เซนติเมตร หนา 2 มิลลิเมตร
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะของถังปอก
2.2 แผ่นปอก มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 29 เซนติเมตร เจาะเป็นรูขนาด 4
มิลลิเมตร ทั้งแผ่น
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะของแผ่นปอก
707
2.3 ใบกั้น ใช้กันกระเทียมและหอมแดงให้เกิดการเสียดสีกับแผ่นปอก
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะของใบกั้น
2.4 ต้นกำลัง ใช้มอเตอร์ขนาด 1/4 แรงม้า ประกอบกับชุดเกียร์ มีความเร็วรอบ 50 รอบต่อนาที
ภาพที่ 4 แสดงชุดต้นกำลังทีใช้ในการหมุนแผ่นปอก
2.5 ตะแกรงกรอง ใช้กรองเปลือกที่ปอกออกและไหลมาพร้อมกับน้ำ
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะของตะแกรงกรองเปลือก
708
2.6 ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ระบบน้ำหล่อเลี้ยงการปอก ประกอบด้วย วาล์วน้ำ ท่อน้ำและถังเก็บน้ำ
ภาพที่ 6 แสดงการติดตั้งระบบน้ำ
2.7 ชุดควบคุมระบบไฟฟ้า ประกอบด้วยเมนเบรกเกอร์ เบรกเกอร์ควบคุมมอเตอร์และปั๊มน้ำ
ภาพที่ 7 แสดงชุดควบคุมระบบไฟฟ้า
2.8 โครงสร้าง เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ และเป็นฐานของเครื่อง ซึ่งชุดโครงสร้างทำจาก
สแตนเลสกล่อง มีขนาด 40 x 100 x 65 เซนติเมตร
ภาพที่ 8 แสดงชุดโครงสร้างของเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
สวิทช์มอเตอร์ สวิทช์ปมั๊ น้ำ
709
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นการหาคุณภาพของเครื่องปอก ดำเนินการโดยอธิบายการสร้างและสาธิตการทำงานให้
ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาและประเมินผลด้วยแบบประเมินที่สร้างขึ้น
ส่วนที่ 2 เป็นการหาประสิทธิภาพของเครื่องปอก โดยการทดลองปอกกระเทียมและหอมแดงด้วยเครื่อง
ปอก แล้วนำผลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนการทดลองและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง มี
ดังนี้
ภาพที่ 9 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการทดลองและการใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
4. การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คุณภาพของเครื่องปอกซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และแปรผลโดยใช้
สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
เกณฑ์คุณภาพ จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับคุณภาพดี (ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จาก
คะแนนเต็ม 5) จึงยอมรับว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมีคุณภาพใช้ได้
ส่วนที่ 2 ประสิทธิภาพของเครื่องปอก ด้วยการนำผลที่ได้จากการทดลองการปอกด้วยคนกับการปอก
ด้วยเครื่องปอกมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยร้อยละของกระเทียมและ
หอมแดงที่ปอกเปลือกออกตามเกณฑ์กำหนด ใช้สถิติ t-test
ให้ μ1 แทนค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 1
μ2 แทนค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 2
นำกระเทียมหรือหอมแดงที่ผ่านการแยกกลีบและ
ตัดรากแข็งออกจำนวน 2 กิโลกรัม แช่น้ำ 30 นาที
นำกระเทียมหรือหอมแดงเทใส่ถังปอก
เปิดสวิทช์ปั๊มน้ำและมอเตอร์เครื่องปอก
ปิดสวิทช์มอเตอร์และปั๊มน้ำเครื่องปอก
ทำการจับเวลา 30 นาที
นำกระเทียมหรือหอมแดงออกจากถัง
แยกที่ปอกเปลือกหมดกับไม่หมด
คำนวณหาร้อยละที่ปอกเปลือกหมด
เริ่มต้น
สิ้นสุด
710
สมมติฐาน H0 : μ1 = μ2
H1 : μ1 < μ2
α = 0.05
( ) ( ) 1 2 1 2
2 2
1 2
1 2
t = X -X - μ -μ
ns +ns
t = ค่า Student t
X1 = ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดที่ 1
X2 = ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดที่ 2
S1 = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลชุดที่ 1
S2 = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลชุดที่ 2
n1 = จำนวนข้อมูลชุดที่ 1
n2 = จำนวนข้อมูลชุดที่ 2
ส่วนการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของการปอกด้วยเครื่องปอก โดยใช้สถิติการประมาณค่าเฉลี่ย หาช่วง
ความเชื่อมั่น
X- α
2
t . S
n < μ < X+ α
2
t . S
n
μ = ค่าเฉลี่ยของประชากร
X = ค่าเฉลี่ยของข้อมูล
S = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูล
n = จำนวนข้อมูลตัวอย่าง
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. คุณภาพของเครื่องปอก
จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าในภาพรวมเครื่องปอกมีคุณภาพในระดับดี โดยค่าเฉลี่ยทุกด้าน
อยู่ในระดับดี ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 10 แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยการประเมินรายด้านและค่าเฉลี่ยรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ
4.69
4.42
4.04
4.38
0.0 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0
เฉลี่ยรวม
รายการประเมิน
คะแนนค่าเฉลี่ย
ด้านคุณภาพของการปอก
ด้านการใช้งาน
ด้านโครงสร้าง
S.D. = 0.52
S.D. = 0.28
S.D. = 0.52
S.D. = 0.48
711
2. ประสิทธิภาพของเครื่องปอก
จากผลการทดลองปอกกระเทียมและหอมแดง ด้วยเครื่องปอก อย่างละ 5 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทาง
สถิติ มีรายละเอียดดังตารางที่ 2 และตารางที่ 3
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการปอกกระเทียมด้วยเครื่องปอก
ครั้งที่ จำนวนที่ใส่
(กลีบ)
กลีบดีตามเกณฑ์
(กลีบ)
คิดเป็นร้อยละ หมายเหตุ
1 340 279 82.06
2 340 274 80.59
3 340 277 81.47
4 340 275 80.88
5 340 276 81.18
เฉลี่ย 276.2 81.24
S.D. 0.57
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการปอกหอมแดงด้วยเครื่องปอก
ครั้งที่ จำนวนที่ใส่
(หัว)
หัวดีตามเกณฑ์
(หัว) คิดเป็นร้อยละ หมายเหตุ
1 260 215 82.69
2 260 217 83.46
3 260 219 84.23
4 260 214 82.31
5 260 215 82.69
เฉลี่ย 216 83.08
S.D. 0.77
3. อภิปรายผล
จากการประเมินคุณภาพของเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ในด้าน
โครงสร้างของเครื่องปอก มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะความคงทนแข็งแรงของเครื่องและความ
เหมาะสมของวัสดุที่ใช้ทำเครื่อง มีระดับคะแนนสูงที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะผู้วิจัยได้ทำการออกแบบรูปทรงและ
โครงสร้างตามหลักการออกแบบมาเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้ไม่มีเสียงดังจากการทำงานของเครื่องและเคลื่อนย้าย
สะดวกเพราะมีขนาดเล็ก
712
ในส่วนของประสิทธิภาพในการปอกนั้น นอกจากจะได้ผลผลิตที่ได้ตามเกณฑ์โดยค่าเฉลี่ยในระดับสูง
แล้ว ผลผลิตก็แตกต่างกัน ที่เห็นได้ชัดจากการปอกด้วยเครื่องคือ ผิวของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอกจะ
เรียบ ไม่ช้ำ เนื้อไม่ฉีกขาดหรือมีบางส่วนของเนื้อหายไป ซึ่งแตกต่างจากการปอกด้วยคนที่มีเนื้อส่วนหนึ่งติดไปกับ
เปลือกที่ปอก ทำให้ต้องสูญเสียปริมาณของเนื้อไปส่วนหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์
4. ข้อเสนอแนะ
จากความคิดเห็นในการประเมินคุณภาพของเครื่องโดยผู้เชี่ยวชาญ เห็นพ้องต้องกันว่าการออกแบบของ
เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงด้านโครงสร้างทำได้ดีมาก การใช้งานและคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่
ผ่านการปอกด้วยเครื่องปอกอยู่ในระดับดี
ผู้ประกอบการที่ต้องการกระเทียมและหอมแดงที่ไร้เปลือกครั้งละมาก ๆ สามารถนำเครื่องนี้ไปใช้ในการ
ปอกกระเทียมและหอมแดงได้เลย หากต้องการประสิทธิภาพการปอกเพิ่มขึ้น ก็ควรตัดหางของกระเทียมและ
หอมแดงออก เพิ่มเวลาการแช่กระเทียมและหอมแดงในน้ำก่อนการปอกให้นานขึ้น
คำนิยม
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุราษฎร์ พรมจันทร์ และผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ภร นนทะสร ที่ได้ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการแก้ไขข้อบกพร่องจนทำให้งานวิจัย
ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู และบุคคลากรของวิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุงทุกท่าน ที่ให้กำลังใจ
สนับสนุนและอนุมัติงบประมาณในการวิจัย
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลในการวิจัยที่ได้ ให้คำแนะนำ ให้ความ
ร่วมมือและข้อเสนอแนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยในครั้งนี้
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
[1] บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด . “ประวัติและการดำเนินงาน.” [Online]. จากhttp://nithifoods.co.th/thai/
about/about.php, เข้าถึงเมื่อ: 15 มีนาคม 2551.
[2] สุวิมล กีรติพิบูล. “GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย.” พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2550.
[3] มงคล ไชยศรี, เจษฎา อุ่นสวิง, ณัฎฐนันท์ มูลสระดู่ และสุทธิพงษ์ โสภา. “เครื่องปอกกระเทียม.”
ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2547.
[4] อภิชาติ จิรัฐติยางกูร.“เครื่องปอกกระเทียมจีน.” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน, 2547.
[5] สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์และศานิต ปันเขื่อนขัติย์. “เครื่องปอกเปลือกกระเทียม.” วิทยาลัยเทคนิคดุสิต, 2545.

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำ สัปดาห์ 1 (หัวข้อที่ 6 )

Reference List: Books

Summary: APA (American Psychological Association) is most commonly used to cite sources within the social sciences. This resource, revised according to the 6th edition of the APA manual, offers examples for the general format of APA research papers, in-text citations, endnotes/footnotes, and the reference page. Please use the example at the bottom of this page to cite the Purdue OWL in APA.

Contributors:Jodi Wagner, Elena Lawrick, Elizabeth Angeli, Kristen Moore, Michael Anderson, Lars Soderlund, Allen Brizee
Last Edited: 2010-06-25 01:19:35

Basic Format for Books

Author, A. A. (Year of publication). Title of work: Capital letter also for subtitle. Location: Publisher.

Note: For "Location," you should always list the city and the state using the two letter postal abbreviation without periods (New York, NY).

Calfee, R. C., & Valencia, R. R. (1991). APA guide to preparing manuscripts for journal publication. Washington, DC: American Psychological Association.

Edited Book, No Author

Duncan, G. J., & Brooks-Gunn, J. (Eds.). (1997). Consequences of growing up poor. New York, NY: Russell Sage Foundation.

Edited Book with an Author or Authors

Plath, S. (2000). The unabridged journals K.V. Kukil, (Ed.). New York, NY: Anchor.

A Translation

Laplace, P. S. (1951). A philosophical essay on probabilities. (F. W. Truscott & F. L. Emory, Trans.). New York, NY: Dover. (Original work published 1814).

Note: When you cite a republished work, like the one above, in your text, it should appear with both dates: Laplace (1814/1951).

Edition Other Than the First

Helfer, M. E., Keme, R. S., & Drugman, R. D. (1997). The battered child (5th ed.). Chicago, IL: University of Chicago Press.

Article or Chapter in an Edited Book

Author, A. A., & Author, B. B. (Year of publication). Title of chapter. In A. Editor & B. Editor (Eds.), Title of book (pages of chapter). Location: Publisher.

Note: When you list the pages of the chapter or essay in parentheses after the book title, use "pp." before the numbers: (pp. 1-21). This abbreviation, however, does not appear before the page numbers in periodical references, except for newspapers.

O'Neil, J. M., & Egan, J. (1992). Men's and women's gender role journeys: Metaphor for healing, transition, and transformation. In B. R. Wainrib (Ed.), Gender issues across the life cycle (pp. 107-123). New York, NY: Springer.

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจ็ก เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง


บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงนั้น จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการปอก
ด้วยคน เช่น เกิดอาการแสบตา ยางกระเทียมและหอมแดงติดมือ กลิ่นฉุนติดเสื้อผ้า และที่สำคัญคือต้องใช้เวลา
ในการปอกนาน หากต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น หากมี
เครื่องจักรมาช่วยในการปอก ก็น่าที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
เครื่องปอกที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ใช้หลักการการเสียดสีของกระเทียมและหอมแดง บนแผ่นปอกที่เจาะ
เป็นรู หมุนด้วยความเร็ว 50 รอบต่อนาที และอาศัยน้ำเป็นตัวนำเศษผิวที่ปอกออกทางด้านล่างของถังในลักษณะ
การหมุนวน
หลังจากสร้างเครื่องปอก ได้สาธิตการทำงานของเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน ประเมินคุณภาพ
ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอก ผลการ
ประเมินพบว่าเครื่องที่สร้างขึ้นนั้นมีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.38) ในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้าง
อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.68)
จากการเปรียบเทียบระหว่างการใช้คนปอกและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
(กระเทียมประมาณ 340 กลีบ หอมแดงประมาณ 260 หัว) จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ได้จำนวนผลผลิตที่ดี
ตามเกณฑ์ ดังนี้
1. การปอกด้วยคน กระเทียมมีค่าเฉลี่ย 86.40กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 25.41) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 83 หัว
(คิดเป็นร้อยละ 31.29)
2. การปอกด้วยเครื่อง กระเทียมมีค่าเฉลี่ย276.20 กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 81.24) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 216
หัว (คิดเป็นร้อยละ 83.08)
เมื่อนำผลจากการทดลองมาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องปอกมีประสิทธิภาพในการปอก
มากกว่าการปอกด้วยคน ไม่ว่าจะเป็นการปอกกระเทียมหรือหอมแดง จึงอาจสรุปได้ว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมี
คุณภาพและมีประสิทธิภาพที่พร้อมจะนำไปใช้งานได้จริง

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เครื่องจักรกลเกษตรสำหรับการผลิตข้าว

เครื่องมือเตรียมดิน

รถไถเดินตาม

รถแทรกเตอร์ 4 ล้อ

รถแทรกเตอร์ 4 ล้อขนาดเล็ก

เครื่องพ่นหว่านเมล็ดข้าว

ขลุบหมุนติดรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก



เครื่องมือปลูกข้าว

เครื่องดำนา

เครื่องหยอดข้าวแห้ง

เครื่องปลูกข้าว 4 แถว แบบไม่เตรียมดินใช้ไถเดินตาม


เครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว

เครื่องเกี่ยวข้าววางราย

เครื่องนวดข้าว

เครื่องเกี่ยวนวดข้าว


เครื่องมือเก็บรักษาข้าว

เครื่องลดความชื้นแบบเมล็ดพืชบรรจุในกระสอบ

เครื่องลดความชื้นแบบกระบะ

เครื่องลดความชื้นแบบถังหมุนเวียน

เครื่องลดความชื้นแบบคอลัมน์

เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า หรือแบบ แอล.เอส.ยู

เครื่องลดความชื้นแบบฟลูอิดไดซ์ – เบด