วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553


เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
Construction of Garlic and Shallot Peeling Machine

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงนั้น จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการปอกด้วยคน เช่น เกิดอาการแสบตา ยางกระเทียมและหอมแดงติดมือ กลิ่นฉุนติดเสื้อผ้า
และที่สำคัญคือต้องใช้เวลา
ในการปอกนาน หากต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพในปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น หากมี
เครื่องจักรมาช่วยในการปอก ก็น่าที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
เครื่องปอกที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ใช้หลักการการเสียดสีของกระเทียมและหอมแดง บนแผ่นปอกที่เจาะ
เป็นรู หมุนด้วยความเร็ว 50 รอบต่อนาที และอาศัยน้ำเป็นตัวนำเศษผิวที่ปอกออกทางด้านล่างของถังในลักษณะ
การหมุนวน
หลังจากสร้างเครื่องปอก ได้สาธิตการทำงานของเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน ประเมินคุณภาพ
ใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอก ผลการ
ประเมินพบว่าเครื่องที่สร้างขึ้นนั้นมีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.38) ในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโครงสร้าง
อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.68)
จากการเปรียบเทียบระหว่างการใช้คนปอกและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
(กระเทียมประมาณ 340 กลีบ หอมแดงประมาณ 260 หัว) จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ได้จำนวนผลผลิตที่ดี
ตามเกณฑ์ ดังนี้
1. การปอกด้วยคน กระเทียมมีค่าเฉลี่ย 86.40กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 25.41) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 83 หัว
(คิดเป็นร้อยละ 31.29)
2. การปอกด้วยเครื่อง กระเทียมมีค่าเฉลี่ย276.20 กลีบ (คิดเป็นร้อยละ 81.24) หอมแดงมีค่าเฉลี่ย 216
หัว (คิดเป็นร้อยละ 83.08)
เมื่อนำผลจากการทดลองมาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องปอกมีประสิทธิภาพในการปอก
มากกว่าการปอกด้วยคน ไม่ว่าจะเป็นการปอกกระเทียมหรือหอมแดง จึงอาจสรุปได้ว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมี
คุณภาพและมีประสิทธิภาพที่พร้อมจะนำไปใช้งานได้จริง

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสาร ศึกษาข้อมูล หลักการทางทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
ตามกรอบแนวคิด ให้สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎี ประกอบด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้
1. เอกสารทางทฤษฎี
กระเทียมและหอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด เป็นส่วนสำคัญนำไปใช้
ประกอบอาหาร มีการแปรรูปกระเทียมและหอมแดงเป็นผลิตภัณฑ์ เกิดอุตสาหกรรมกระเทียมและหอมแดงผง
หรืออัดเม็ดในปัจจุบัน [1]
การออกแบบเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ตามข้อกำหนดของ จี เอ็ม พี (GMP) นั้น วัสดุที่
ใช้ทำชิ้นส่วนจะต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการบริโภค ซึ่งเครื่องปอกที่สร้างขึ้น จะต้องสร้าง
ขึ้นจากวัสดุที่ไม่เป็นสนิมหรือไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการบริโภค [2]
สิ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพของเครื่องปอกที่สร้างขึ้นทำโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้และ
ประสบการณ์ในการสร้างเครื่องจักรเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลในวงการนั้น ส่วนประสิทธิภาพของเครื่อง
ปอกสามารถวัดได้จากผลผลิตที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนด
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มงคล ไชยศรี เจษฎา อุ่นสวิง ณัฎฐนันท์ มูลสระดู่และสุทธิพงษ์ โสภา[3] ได้ออกแบบและสร้างเครื่อง
ปอกกระเทียม ซึ่งลักษณะการทำงาน ใช้แผ่นยางสังเคราะห์ชนิดไม่เรียบเป็นตัวทำหน้าที่ขัดเปลือกกระเทียมให้
ร่อนออกจากเนื้อกระเทียมพบว่าประสิทธิภาพของเครื่องปอกมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 56 โดยใช้กระเทียม
จำนวน 0.5 กก.
706
อภิชาติ จิรัฐติยางกูร [4] ได้ออกแบบและสร้างเครื่องปอกกระเทียมจีน โดยการทำงานใช้หลักการหมุน
ของเพลายางสังเคราะห์บดเสียดสีให้เปลือกระเทียมหลุดออก เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปอกกระเทียมมากขึ้น
สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์และศานิต ปันเขื่อนขัติย์ [5] ได้ออกแบบและสร้างเครื่องปอกเปลือกกระเทียม
(Garlic Press Peeler) การทำงานของเครื่องอาศัยหลักการเสียดสีและความยืดหยุ่นของแผ่นยางซิลิโคน ทำให้
เปลือกกระเทียมที่ถูกขัดสีระหว่างแผ่นยางซิลิโคนทั้งบนและล่างนั้นล่อนหลุดออกได้ง่ายโดยกระเทียมไม่ช้ำ
อุป
กรณ์และวิธีการ
การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงในการวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งกระเทียมและหอมแดงที่ไร้เปลือก โดยการศึกษา
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำงานของเครื่องปอกที่มีผู้ศึกษามาแล้ว เพื่อทราบแนวทางการ
สร้าง ความเหมาะสมและข้อจำกัดต่าง ๆ นำมาสังเคราะห์เพื่อสร้างเครื่องปอกที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพขึ้น
2. การสร้างเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ทำจากสแตนเลส ถูกต้องตาม
หลักเกณฑ์ของการสร้างเครื่องจักรที่สัมผัสอาหารตามข้อกำหนดของ จี เอ็ม พี (GMP) ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ ๆของเครื่องปอกดังนี้
2.1 ถังปอก ขึ้นรูปจากโลหะแผ่นเป็นถังทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร สูง40
เซนติเมตร หนา 2 มิลลิเมตร
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะของถังปอก
2.2 แผ่นปอก มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 29 เซนติเมตร เจาะเป็นรูขนาด 4
มิลลิเมตร ทั้งแผ่น
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะของแผ่นปอก
707
2.3 ใบกั้น ใช้กันกระเทียมและหอมแดงให้เกิดการเสียดสีกับแผ่นปอก
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะของใบกั้น
2.4 ต้นกำลัง ใช้มอเตอร์ขนาด 1/4 แรงม้า ประกอบกับชุดเกียร์ มีความเร็วรอบ 50 รอบต่อนาที
ภาพที่ 4 แสดงชุดต้นกำลังทีใช้ในการหมุนแผ่นปอก
2.5 ตะแกรงกรอง ใช้กรองเปลือกที่ปอกออกและไหลมาพร้อมกับน้ำ
ภาพที่ 5 แสดงลักษณะของตะแกรงกรองเปลือก
708
2.6 ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ระบบน้ำหล่อเลี้ยงการปอก ประกอบด้วย วาล์วน้ำ ท่อน้ำและถังเก็บน้ำ
ภาพที่ 6 แสดงการติดตั้งระบบน้ำ
2.7 ชุดควบคุมระบบไฟฟ้า ประกอบด้วยเมนเบรกเกอร์ เบรกเกอร์ควบคุมมอเตอร์และปั๊มน้ำ
ภาพที่ 7 แสดงชุดควบคุมระบบไฟฟ้า
2.8 โครงสร้าง เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ และเป็นฐานของเครื่อง ซึ่งชุดโครงสร้างทำจาก
สแตนเลสกล่อง มีขนาด 40 x 100 x 65 เซนติเมตร
ภาพที่ 8 แสดงชุดโครงสร้างของเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
สวิทช์มอเตอร์ สวิทช์ปมั๊ น้ำ
709
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นการหาคุณภาพของเครื่องปอก ดำเนินการโดยอธิบายการสร้างและสาธิตการทำงานให้
ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาและประเมินผลด้วยแบบประเมินที่สร้างขึ้น
ส่วนที่ 2 เป็นการหาประสิทธิภาพของเครื่องปอก โดยการทดลองปอกกระเทียมและหอมแดงด้วยเครื่อง
ปอก แล้วนำผลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนการทดลองและใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง มี
ดังนี้
ภาพที่ 9 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการทดลองและการใช้เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง
4. การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คุณภาพของเครื่องปอกซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และแปรผลโดยใช้
สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
เกณฑ์คุณภาพ จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับคุณภาพดี (ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จาก
คะแนนเต็ม 5) จึงยอมรับว่าเครื่องปอกที่สร้างขึ้นมีคุณภาพใช้ได้
ส่วนที่ 2 ประสิทธิภาพของเครื่องปอก ด้วยการนำผลที่ได้จากการทดลองการปอกด้วยคนกับการปอก
ด้วยเครื่องปอกมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยร้อยละของกระเทียมและ
หอมแดงที่ปอกเปลือกออกตามเกณฑ์กำหนด ใช้สถิติ t-test
ให้ μ1 แทนค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 1
μ2 แทนค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 2
นำกระเทียมหรือหอมแดงที่ผ่านการแยกกลีบและ
ตัดรากแข็งออกจำนวน 2 กิโลกรัม แช่น้ำ 30 นาที
นำกระเทียมหรือหอมแดงเทใส่ถังปอก
เปิดสวิทช์ปั๊มน้ำและมอเตอร์เครื่องปอก
ปิดสวิทช์มอเตอร์และปั๊มน้ำเครื่องปอก
ทำการจับเวลา 30 นาที
นำกระเทียมหรือหอมแดงออกจากถัง
แยกที่ปอกเปลือกหมดกับไม่หมด
คำนวณหาร้อยละที่ปอกเปลือกหมด
เริ่มต้น
สิ้นสุด
710
สมมติฐาน H0 : μ1 = μ2
H1 : μ1 < μ2
α = 0.05
( ) ( ) 1 2 1 2
2 2
1 2
1 2
t = X -X - μ -μ
ns +ns
t = ค่า Student t
X1 = ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดที่ 1
X2 = ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดที่ 2
S1 = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลชุดที่ 1
S2 = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลชุดที่ 2
n1 = จำนวนข้อมูลชุดที่ 1
n2 = จำนวนข้อมูลชุดที่ 2
ส่วนการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของการปอกด้วยเครื่องปอก โดยใช้สถิติการประมาณค่าเฉลี่ย หาช่วง
ความเชื่อมั่น
X- α
2
t . S
n < μ < X+ α
2
t . S
n
μ = ค่าเฉลี่ยของประชากร
X = ค่าเฉลี่ยของข้อมูล
S = ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูล
n = จำนวนข้อมูลตัวอย่าง
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. คุณภาพของเครื่องปอก
จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าในภาพรวมเครื่องปอกมีคุณภาพในระดับดี โดยค่าเฉลี่ยทุกด้าน
อยู่ในระดับดี ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 10 แผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยการประเมินรายด้านและค่าเฉลี่ยรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ
4.69
4.42
4.04
4.38
0.0 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0
เฉลี่ยรวม
รายการประเมิน
คะแนนค่าเฉลี่ย
ด้านคุณภาพของการปอก
ด้านการใช้งาน
ด้านโครงสร้าง
S.D. = 0.52
S.D. = 0.28
S.D. = 0.52
S.D. = 0.48
711
2. ประสิทธิภาพของเครื่องปอก
จากผลการทดลองปอกกระเทียมและหอมแดง ด้วยเครื่องปอก อย่างละ 5 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทาง
สถิติ มีรายละเอียดดังตารางที่ 2 และตารางที่ 3
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการปอกกระเทียมด้วยเครื่องปอก
ครั้งที่ จำนวนที่ใส่
(กลีบ)
กลีบดีตามเกณฑ์
(กลีบ)
คิดเป็นร้อยละ หมายเหตุ
1 340 279 82.06
2 340 274 80.59
3 340 277 81.47
4 340 275 80.88
5 340 276 81.18
เฉลี่ย 276.2 81.24
S.D. 0.57
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการปอกหอมแดงด้วยเครื่องปอก
ครั้งที่ จำนวนที่ใส่
(หัว)
หัวดีตามเกณฑ์
(หัว) คิดเป็นร้อยละ หมายเหตุ
1 260 215 82.69
2 260 217 83.46
3 260 219 84.23
4 260 214 82.31
5 260 215 82.69
เฉลี่ย 216 83.08
S.D. 0.77
3. อภิปรายผล
จากการประเมินคุณภาพของเครื่องปอกกระเทียมและหอมแดง โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ในด้าน
โครงสร้างของเครื่องปอก มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะความคงทนแข็งแรงของเครื่องและความ
เหมาะสมของวัสดุที่ใช้ทำเครื่อง มีระดับคะแนนสูงที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะผู้วิจัยได้ทำการออกแบบรูปทรงและ
โครงสร้างตามหลักการออกแบบมาเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้ไม่มีเสียงดังจากการทำงานของเครื่องและเคลื่อนย้าย
สะดวกเพราะมีขนาดเล็ก
712
ในส่วนของประสิทธิภาพในการปอกนั้น นอกจากจะได้ผลผลิตที่ได้ตามเกณฑ์โดยค่าเฉลี่ยในระดับสูง
แล้ว ผลผลิตก็แตกต่างกัน ที่เห็นได้ชัดจากการปอกด้วยเครื่องคือ ผิวของกระเทียมและหอมแดงที่ผ่านการปอกจะ
เรียบ ไม่ช้ำ เนื้อไม่ฉีกขาดหรือมีบางส่วนของเนื้อหายไป ซึ่งแตกต่างจากการปอกด้วยคนที่มีเนื้อส่วนหนึ่งติดไปกับ
เปลือกที่ปอก ทำให้ต้องสูญเสียปริมาณของเนื้อไปส่วนหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์
4. ข้อเสนอแนะ
จากความคิดเห็นในการประเมินคุณภาพของเครื่องโดยผู้เชี่ยวชาญ เห็นพ้องต้องกันว่าการออกแบบของ
เครื่องปอกกระเทียมและหอมแดงด้านโครงสร้างทำได้ดีมาก การใช้งานและคุณภาพของกระเทียมและหอมแดงที่
ผ่านการปอกด้วยเครื่องปอกอยู่ในระดับดี
ผู้ประกอบการที่ต้องการกระเทียมและหอมแดงที่ไร้เปลือกครั้งละมาก ๆ สามารถนำเครื่องนี้ไปใช้ในการ
ปอกกระเทียมและหอมแดงได้เลย หากต้องการประสิทธิภาพการปอกเพิ่มขึ้น ก็ควรตัดหางของกระเทียมและ
หอมแดงออก เพิ่มเวลาการแช่กระเทียมและหอมแดงในน้ำก่อนการปอกให้นานขึ้น
คำนิยม
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุราษฎร์ พรมจันทร์ และผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ภร นนทะสร ที่ได้ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการแก้ไขข้อบกพร่องจนทำให้งานวิจัย
ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ขอขอบคุณผู้บริหาร คณะครู และบุคคลากรของวิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุงทุกท่าน ที่ให้กำลังใจ
สนับสนุนและอนุมัติงบประมาณในการวิจัย
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลในการวิจัยที่ได้ ให้คำแนะนำ ให้ความ
ร่วมมือและข้อเสนอแนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยในครั้งนี้
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
[1] บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด . “ประวัติและการดำเนินงาน.” [Online]. จากhttp://nithifoods.co.th/thai/
about/about.php, เข้าถึงเมื่อ: 15 มีนาคม 2551.
[2] สุวิมล กีรติพิบูล. “GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย.” พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2550.
[3] มงคล ไชยศรี, เจษฎา อุ่นสวิง, ณัฎฐนันท์ มูลสระดู่ และสุทธิพงษ์ โสภา. “เครื่องปอกกระเทียม.”
ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2547.
[4] อภิชาติ จิรัฐติยางกูร.“เครื่องปอกกระเทียมจีน.” คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน, 2547.
[5] สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์และศานิต ปันเขื่อนขัติย์. “เครื่องปอกเปลือกกระเทียม.” วิทยาลัยเทคนิคดุสิต, 2545.